หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล สายลำโพง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
     
 

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลสายลำโพง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ค่ะ
 
 
 

 
หลอดพลาสติกรีไซเคิลได้ แต่ไม่ได้รีไซเคิล ไขข้อสงสัย ! ทำไมเราควรงดใช้หลอดพลาสติก  

ลำดับภาพที่ 1/2

ลำดับภาพที่ 2/2
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ประโยชน์ของหลอดพลาสติก หากเทียบกับความร้ายกาจตอนหมดค่า (เราใช้งานหลอดในเวลาไม่ถึง 20 นาที) พอทิ้งเป็นขยะ สุดท้ายจำนวนไม่น้อยหลุดรอดตกลงสู่ทะเล ซึ่งปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนแล้วว่า ก่ออันตรายต่อสัตว์ทะเลจริง โดยเฉพาะกับเต่าทะเล
หลายคนคงเห็นจากข่าว ที่มีคลิปคนช่วยกันดึงหลอดพลาสติกออกมาจากจมูกเต่า น่าจะเป็นหนึ่งในคลิปวิดีโอที่สร้างแรงกระเพื่อมทางสิ่งแวดล้อมที่สุดคลิปหนึ่ง
หลอดพลาสติกความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ถูกดึงออกมาจากจมูกของเต่าที่ลำตัวยาวไม่เกิน 60 เซนติเมตร นั่นแสดงว่าหลอดเสียบเข้าไปถึง 1 ใน 3 ของตัวเต่า ถ้าเป็นมนุษย์หลอดที่ว่าคงเสียบตั้งแต่จมูกไปถึงกระเพาะอาหาร
สีหน้าและแววตาที่เจ็บปวดของเต่า สัตว์ที่ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ให้เห็น ทำให้ผู้ที่ดูคลิปรู้สึกเวทนาและตั้งคำถามว่า มนุษย์ทำอะไรลงไป หลายแคมเปญทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจากคลิปนั้น เช่น Be Straw Free ที่อเมริกา Straw no More ที่ ออสเตรเลีย รวมไปถึงแบรนด์ดังต่างๆ ที่ประกาศแผนการเลิกใช้หลอดพลาสติก เช่น Starbuck หรือ โรงแรมในเครือ Marriott
แต่หลอดพลาสติกก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงง่ายๆ ตัวเลขจากการคาดการณ์พบว่า น่าจะมีการใช้หลอดพลาสติกทั่วโลกในหลักพันล้านหลอดต่อวัน และทุกหลอดเป็นการใช้เพียงแค่ครั้งเดียว...แล้วทิ้ง
คำถามที่ชวนสงสัยคือ ปริมาณหลอดพลาสติกที่เยอะขนาดนั้น ทำไมถึงไม่มีการนำไปรีไซเคิล?

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนสองอย่าง คือ
1. หลอดพลาสติกเกือบทั้งหมดทำมาจากพลาสติกเกรด Polypropylene หรือ PP ซึ่งเป็นพลาสติกเกรดพื้นฐานที่ใช้กันแพร่หลาย มีสัดส่วนการใช้งานมากที่สุดในโลก และมีโรงงานรีไซเคิลจำนวนมาก
2. กระบวนการรีไซเคิลพลาสติกมีสองแบบ
2.1 พลาสติกแบบเป็นชิ้น เช่นขวดพลาสติก จะมีสี่ขั้นตอนคือ แยก - ย่อย - ล้าง - หลอมเม็ด
2.2 พลาสติกแบบเป็นฟิลม์ เช่น ถุงพลาสติก จะมีห้าขั้นตอนคือ แยก - ซักล้าง - ทำให้แห้ง - ย่อย- หลอมเม็ด
เพราะฉะนั้นแล้วโดยเนื้อวัสดุ หลอดพลาสติกควรนำกลับไปรีไซเคิลได้ แต่ปัญหานั้นอยู่ที่กระบวนการ หลอดนั้นไม่ใช่พลาสติกแบบเป็นชิ้น ถ้านำหลอดพลาสติกไปเข้าเครื่องย่อยพลาสติก หลอดจะเข้าไปติดในเครื่องย่อยเป็นอุปสรรคในระบบ และหลอดพลาสติกก็ไม่ใช่พลาสติกแบบฟิล์ม ซึ่งไม่สามารถซักล้างได้สะอาด และด้วยรูปทรงทำให้แห้งยาก
ด้วยเหตุนี้การจะรีไซเคิลหลอดจำเป็นจะต้องออกแบบวิธีการโดยเฉพาะ ซึ่งก็เป็นที่มาของอีกปัญหานึงคือ ปริมาณการคัดแยกเพียงพอที่จะให้ใครสักคนลงทุนตั้งเครื่องจักรเพื่อรีไซเคิลหลอดโดยเฉพาะหรือเปล่า?
กล้าฟันธงได้เลยว่า การรีไซเคิลกับหลอดพลาสติกเป็นทางขนานที่ไม่มีวันบรรจบ หลอดทุกชิ้นที่ถูกผลิตขึ้นมาล้วนจะมีจุดจบที่ทะเล หรือหลุมฝังกลบ
การเลิกใช้ และการเปลี่ยนวัสดุเท่านั้นที่เป็นทางออกของหลอด ร่วมกันเถอะ! ร่วมกันลดการใช้หลอดพลาสติก : Say No to Plastic Straw

 

ข่าว ณ. วันที่ 2 ก.ย. 2565 เวลา 10.22 น. โดย วาที่ ร.ท. อนุรักษ์ ทับวิเศษ

ผู้เข้าชม 756 ท่าน

 
 
     
 

     
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 056-284-054
 
 
 
 
 
 
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10